ที่มาของ pom pom cheers

ที่มาของ pom pom cheers เพื่อนๆรู้ไหมคะ ว่าการเชียร์ กีฬา ที่ใช้พู่เชียร์ หรือที่เราเรียกว่า pom pom cheers เริ่มมาจากไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร และเข้ามาในประเทศไทย จนเกิดเป็นความนิยม และมีการจัดแข่งกันนั้น มีความเป็นมา และกฎกติกาการแข่งขันอย่างไร วันนี้ รุ่งทิพย์จะนำมาเล่าให้ฟังคร่าวๆ นะคะ
เราเป็นผู้จัดจำหน่ายพู่เชียร์กีฬา คุณภาพดี สีสันสดใส นิ่มจับสบาย
สนใจติดต่อได้ค่า

————————-

ปอม ปอม เชียร์‘ และ ‘เชียร์ลีดดิ้ง’ ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ถูกริเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1844 หรือ 100 ปี โดย จอห์น แคมป์เบล ผู้ที่ยืนต่อหน้าฝูงชนในเกมการแข่งขันฟุตบอล และโน้มนำให้พวกเขาส่งเสียงเชียร์ว่า

“Rah, Rah, Rah!

“Sku-u-mar, Hoo-Rah! Hoo-Rah! Varsity! Varsity! Minn-e-So-Tah!”

การเชียร์ลีดเดอร์ก็เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 พฤศจิกายน 1898 และแพร่หลายไปทั่วโลกจากกองเชียร์กีฬาเมื่อถึงจุดหนึ่งก็พัฒนามาเป็น ‘กีฬา’ เพราะเชียร์ลีดเดอร์ต้องใช้ทักษะหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยิมนาสติก การกระโดดสูง การม้วนตัว ฯลฯ

ที่สำคัญคือ เป็นกีฬาที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นหน้าเป็นตา เป็นภาพจน์ของสถาบันการศึกษาต่างๆ เริ่มต้นจากสหรัฐอเมริกา แล้วก็แพร่สู่ประเทศอื่นๆ

ประเทศไทยก็รับเอากีฬาชนิดนี้เข้ามาเล่นกันในที่สุด!

เปิดศักราช ‘เชียร์ลีดเดอร์ ‘ รูปแบบ ‘อเมริกันเชียร์’ ในเมืองไทยครั้งแรกเมื่อปี 2538 โดยบริษัท ซีคอนสแควร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จุดประกายนำรูปแบบการเชียร์ลีดเดอร์สากลมาพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดให้มีการแข่งขันเป็นทีม ทีมละ 14-16 คน ใช้เพลงอิสระความยาว 3 นาที โดยมีการผสมผสานระหว่างท่ายิมนาสติก การต่อตัว Cheerleading Dancing ทำให้เกิดพลังในการเชียร์มากขึ้น

แล้วรูปแบบ ‘ปอม ปอม เชียร์’ และ ‘เชียร์ลีดดิ้ง’ รวมถึง ‘แดนซิ่ง’ ก็กลายเป็นแฟชั่นยอดฮิต!!

รัชนี ตั้งเจริญธรรม ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าและประชาสัมพันธ์ และเลขานุการสมาคมซีคอนสแควร์เชียร์ลีดเดอร์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า ถ้าเป็น ‘ปอม ปอม เชียร์’ คือ การเต้นเชียร์โดยใช้ ‘พู่’ ประมาณ 90% ประกอบในท่าเต้นต่างๆ รวมไปถึงการใช้ท่ายิมนาสติก อย่างเช่นการม้วนหน้า ม้วนหลัง ตีลังกา แต่ไม่มีการต่อตัว

ส่วน ‘เชียร์ลีดดิ้ง‘ คือ ประเภทที่มีการตะโกนร้องหรือเรียกว่าการ ‘บูม’ ซึ่งจะมีการใช้ท่ายิมนาสติกผสมผสานกับท่าเต้นต่างๆ เช่น การม้วนหน้า ม้วนหลัง ตีลังกา โดยจะมีการ ‘ต่อตัว’ มีการใช้ท่าทาง หรือการใช้แขนขาและมือในการให้สัญญาณ ที่แสดงออกซึ่งความแข็งแรงของเชียร์ลีดเดอร์ ซึ่งแตกต่างจากลีดมือ ที่แสดงถึงความอ่อนช้อย

ทั้ง ‘เชียร์ลีดดิ้ง’ และ ‘ปอม ปอม เชียร์‘ ต่างก็เป็นรูปแบบการเชียร์ที่มีภาพรวมเรียกว่า ‘อเมริกันเชียร์’ ซึ่งปัจจุบันเป็นกิจกรรมหรือกีฬาที่มหาวิทยาลัยในไทยมีการฝึกฝนกันแพร่หลาย

“เราเล็งเห็นว่าเชียร์ลีดเดอร์เป็นกิจการเพื่อเยาวชนได้มาร่วมกลุ่มกันทำกิจกรรม ฝึกความเป็นผู้นำ ฝึกความแข็งแรงของร่างกาย ซึ่งในปีนั้นเราขอความร่วมมือจากสำนักงานเยาวชน โดยให้ทางหน่วยงานราชการแนะนำผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านแดนซิ่ง ด้านเชียร์ลีดดิ้ง มาให้คำปรึกษา ปรากฏว่ากิจกรรมของเราได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย”

ต่อมาก็คิดว่ากิจกรรมดังกล่าวน่าจะเป็น ‘กีฬาเชียร์ลีดเดอร์’ เพราะเป็นการเชียร์มาผสมผสานกับความสนุกสนาน เนื่องจากเป็นกีฬาที่ต่อเนื่องมาจากยิมนาสติกได้ ที่สำคัญ เป็นกีฬาที่เยาวชนเล่นกันมาตั้งแต่เด็กๆ คือ ตั้งแต่ประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาก็หยุด แล้วก็คิดว่าน่าจะนำมาพัฒนาเป็นกีฬาสำหรับระดับอุดมศึกษาต่อไป

จึงก่อตั้งเป็น ‘สมาคมเชียร์ลีดเดอร์แห่งประเทศไทย’ ขึ้นในปี 2544 ในนาม ‘ซีคอนสแควร์เชียร์ลีดเดอร์แห่งประเทศไทย’ จัดให้มีการแข่งขันขึ้น ณ ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ โดยเบื้องต้นกำหนดกติกาดังนี้ คือ

‘เชียร์ลีดเดอร์’ สามารถนำยิมนาสติกมาผสมกับการเต้นได้ คือ ท่าบังคับ CHEERLEADING ใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที ประกอบด้วยท่ายิมนาสติก 4 ท่า เลือกจากท่าใดก็ได้ เช่น ท่าหกสูง, ม้วนหน้า-หลัง, พุ่งม้วนหน้า, ตีลังกาหน้า-หลัง, อราเบียน, แอเรียลคาร์ทวีล, Cartwhrri, Round Off, Flic Flac, Back Somersault, Front Somersault และท่ากระโดดแยกขาแตะปลายเท้า 1 ครั้ง, ท่าโยนตัวหรือต่อตัว 1 ครั้ง (ต่อตัวไม่เกิน 2 ชั้นครึ่ง)

ท่าบังคับ DANCING ประกอบด้วย ท่า KICK เตะไม่ต่ำกว่า 90 องศา 1 ครั้ง, ท่า TURA หมุนไม่ต่ำกว่า 1 รอบ 1 ครั้ง และท่า JUMP กระโดด 1 ครั้ง

ปัจจุบันสมาคมฯ แบ่งสมาชิกออกเป็นสองกลุ่มคือ ระดับมัธยมศึกษา กับระดับอุดมศึกษา ปัจจุบันมีสมาชิก 50-60 ทีม แบ่งเป็นโรงเรียนต่างๆ กับกลุ่มราชภัฏ ราชมงคล และมหาวิทยาลัย ส่วนภาคเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย กลุ่มซีคอนสแควร์, ทูบีนัมเบอร์วัน และ Red Bull ของกลุ่มกระทิงแดง