ข้อควรระวังเชือกฟางกับการมัดอาหารจากรุ่งทิพย์พลาสแพค

 

เชือกฟางกับการมัดอาหาร

 

ข้อควรระวังเชือกฟางกับการมัดอาหารจากรุ่งทิพย์พลาสแพค ที่ใช้กันอยู่นั้น ทำมาจากเม็ดพลาสติก PP ผสมกับเม็ดสีต่างๆ อาทิ สีแดง สีเหลือง สีเขียว ก่อนจะนำเข้าไปผ่านกระบวนการผลิตแบบรีด ซึ่งเม็ดพลาสติกจะถูกหลอมละลายผ่านเกลียวรีดภายในเครื่องจักรจากความร้อนและความดันที่สูง ก่อนที่จะไหลผ่านแม่แบบเชือกฟางที่เตรียมไว้ เพื่อให้เชือกฟางที่ออกมามีคุณภาพ แล้วจึงผ่านกระบวนการทำให้เม็ดพลาสติกเย็นลงด้วยกระบวนการหล่อเย็นโดยน้ำหรืออากาศ เพื่อรีดพลาสติกให้ออกมาเป็นแผ่นบางๆและม้วนเป็นเชือกฟางที่ใช้อยู่ปัจจุบัน

พลาสติกโพลีโพรพิลีน (Polypropylene, PP)

ข้อควรระวัง:
1. สามารถติดไฟได้ง่าย จึงต้องมีการเติมสารหน่วงไฟเพื่อป้องกันการติดไฟในกระบวนการผลิต ซึ่งสารหน่วงไฟที่เติมจะเป็นพวกโบรมิเนเตตและคลอริเนเตต สารกลุ่มนี้ถ้าไหม้ไฟแล้วจะให้สารไดออกซิน (dioxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

2. สารเม็ดสีที่มีตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งผสมลงไปเพื่อทำให้พลาสติกมีสีต่าง ๆ ตะกั่วและแคดเมียมสามารถแพร่กระจายออกมาจากพลาสติกได้

เชือกฟางที่เราใช้กันอยู่นั้น วัตถุประสงค์จริง ๆ คือใช้มัดสิ่งของ แต่ไม่ได้หมายความถึง การนำไปมัดอาหารเพื่อปรุง เช่น ไส้กรอก บ๊ะจ่าง ฯลฯ ดังนั้น หากมีการใช้งานที่ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์แล้วก็อาจจะนำซึ่งโรคภัยและอันตรายมาสู่ร่างกายและสุขภาพของเราได้

หากพบเห็นร้านค้าที่ผู้ค้ามักง่ายจำหน่ายอาหารด้วยวิธีการมัด ขณะปรุงอาหาร เช่น ไส้กรอกกำลังย่างแต่ไม่ได้แกะเชือกฟางออก หรือ บ๊ะจ่างที่นำไปต้มแต่มัดด้วยเชือกฟาง ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าจะมีสารพิษอะไรบ้างที่ปนเปื้อนมากับอาหารที่เราจะรับประทานเข้าไป ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าพลาสติกที่เป็นเชือกฟางนี้ ไม่สามารถทนความร้อนได้เยอะขนาดต้องนำไปปิ้ง ย่าง หรือ นึ่ง ต้ม ในอุณหภูมิสูง ๆ ได้

สิ่งที่จะใช้

แทนเชือกฟางก็ควรใช้เชือกด้ายที่ทำจากฝ้าย เป็เส้นสีขาว หรือ จะใช้ตอกไม้ไผ่มัดแทนก็ได้ จะปลอดภัยกว่า

เนื่องจากข้อมูลของพิษภัยจากเชือกฟางนั้น หาได้ยากและแทบไม่มีข้อมูลให้ค้นหาจึงเลือกเก็บได้มาเพียงบางส่วนเท่านั้น

“มะเร็งไม่ได้เป็นได้ภายในวันเดียว แต่เกิดจากการสะสมและเติบโตลุกลามแบบช้าๆ”

Credit : สาระแห่งสุขภาพ